10 รูปแบบหลังคาบ้าน พร้อมจุดเด่นจุดด้อย และภาพประกอบ


บ้าน เป็น พื้นที่ที่ใช้ในการอยู่อาศัย เป็น 1 ในปัจจัย 4 ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยไม่ต้องพึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างอื่น ซึ่งในบทความวันนี้ แอดมินจะมาเลาถึงส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของโครงสร้างบ้าน ก่อนที่จะเลือกใช้ในการสร้างบ้านใหม่ หรือรีโนเวทบ้าน ส่วนประกอบที่ว่า นั่นก็คือ หลังคาบ้าน

หลังคาบ้าน คืออะไร

หลังคาบ้าน คืออะไร

หลังคาบ้าน คือ ส่วนประกอบอย่างหนึ่ง ที่อยู่บนสุดของบ้าน ช่วยทำหน้าที่ในการกันแดดกันฝน ให้ร่มเงา และระบายความร้อนออกจากตัวบ้าน หลังคาบ้านทำมาจากหลากหลายวัสดุ ได้แก่ มุงด้วยหญ้าแฝก สังกะสี กระเบื้องและคอนกรีต เมทัลชีท ไม้ซีดาร์ ยางมะตอย และหญ้าแฝกหรือหญ้าคาเทียม

หลังคาบ้าน มีกี่รูปแบบ

รูปแบบ หลังคาบ้าน

หลังคาบ้าน หากแบ่งตามรูปร่างและรูปทรงของหลังคา จะมีอยู่ด้วยกัน 10 รูปแบบ ได้แก่

1. หลังคาทรงหน้าจั่ว (Gable Roof)

หลังคาบ้าน ทรงหน้าจั่ว

หลังคาทรงหน้าจั่ว (Gable Roof) เป็นหลังคารูปทรงเรียบง่าย กันแดดได้ ระบายความร้อนดี มีผืนหลังคาด้านซ้าย และด้านขวาเอียงขึ้นมาบรรจบกันที่สันบนสุดตรงกลาง ในปัจจุบันนิยมทั้งแบบที่มีชายคายื่นยาว เพื่อกันแดดฝน และแบบที่ไม่มีชายคา ให้ดูเรียบ โมเดิร์นทันสมัย

จุดเด่น

  • ช่วยกันแดดกันฝนได้ดี
  • ระบายความร้อนได้ดี
  • ทรงเรียบง่าย
  • ก่อสร้างได้ง่ายเพราะช่างมีความชำนาญ
  • สามารถเจาะช่องระบายอากาศบริเวณหน้าจั่ว จะช่วยระบายความร้อนบริเวณโถงหลังคาได้

จุดด้อย

  • ฝนอาจจะสาดเข้ามาที่ผนังอาคารบริเวณหน้าจั่วได้

2. หลังคาปั้นหยา (Hip Roof)

หลังคาบ้าน ปั้นหยา

หลังคาปั้นหยา (Hip Roof) เป็นหลังคาทรงคล้ายๆกับทรงจั่ว ดูเรียบง่าย มีผืนหลังคาทั้งสี่ด้านลาดเอียงจรดชนกันที่สันหลังคา สามารถออกแบบให้มีระยะชายคาที่ยื่นยาว หรือระยะชายคายื่นสั้นได้

จุดเด่น

  • สามารถกันแดดกันฝนได้ทุกด้าน หากระยะชายคายื่นยาว
  • ทนต่อแรงปะทะของลมได้ดี
  • สามารถออกแบบให้มีระยะชายคาที่ยื่นยาว หรือระยะชายคายื่นสั้นได้

จุดด้อย

  • ระบายความร้อนได้ไม่ค่อยดี เพราะไม่มีหน้าจั่ว

3. หลังคาทรงมนิลา (Manila Roof/Dutch Roof)

หลังคาบ้าน ทรงมนิลา

หลังคาทรงมนิลา (Manila Roof/Dutch Roof) เป็นหลังคาที่เอารวมจุดเด่นของหลังคาทรงหน้าจั่วกับทรงปั้นหยามาผสมผสานกัน และนิยมใช้แบบที่มีชายคายื่นยาว เพื่อให้ช่วยในการกันแดดกันฝนได้ทุกทิศทาง

จุดเด่น

  • หากเป็นหลังคาทรงปั้นหยา จะช่วยป้องกันแดดฝนได้ทั้งสี่ทิศทาง
  • หากเป็นทรงจั่ว จะช่วยลดความร้อน ระบายความร้อนให้บ้านเย็นลงได้
  • เหมาะกับบ้านในประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร

จุดด้อย

  • ต้องมีช่างที่ชำนาญการในการออกแบบและก่อสร้าง เพราะเป็นหลังคาที่มีลักษณะการประยุกต์ ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมไทยและศิลปะตะวันตก ที่ดูประณีตสวยงาม

4. หลังคาสองชััน หรือหลังคามุงหลังคา (Mansard Roof)

หลังคาบ้าน หลังคาสองชั้น

หลังคาสองชััน หรือหลังคามุงหลังคา (Mansard Roof) เป็นหลังคาที่มีลักษณะลาดสองด้านในแต่ละด้าน โดยมีความลาดชันด้านล่างในมุมที่ชันกว่าด้านบน และมักถูกเจาะทำเป็นหน้าต่างตามแนวหลังคาและหน้าต่างที่สูงชันช่วยให้สามารถเพิ่มพื้นที่อยู่อาศัยได้อีกด้วย มักพบหลังคาลักษณะนี้ของบ้านสไตล์ฝรั่งเศษหรืออเมริกา

จุดเด่น

  • สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่ภายในห้องใต้หลังคา และเป็นวิธีง่ายๆในการเพิ่มชั้นหนึ่งชั้นขึ้นไปในอาคารที่มีอยู่ โดยไม่จําเป็นต้องก่ออิฐใด ๆ

จุดด้อย

  • หลังคามีความซับซ้อน ต้องมีช่างที่ชำนาญการในการออกแบบและก่อสร้าง

5. หลังคาเรียบ (Flat Roof)

หลังคาบ้าน ทรงเรียบ

หลังคาเรียบ (Flat Roof) เป็นหลังคาที่ดูเรียบง่าย สามารถเพิ่มพื้นที่ใช้สอยได้ แบ่งออกได้ 2 แบบตามลักษณะการก่อสร้าง ได้แก่

  • หลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก (Flat Slab Roof) หรือหลังคาดาดฟ้า เป็นหลังคาที่เกิดจากการหล่อคอนกรีตเป็นแผ่นพื้นเรียบแบนเป็นผืนเดียวกัน สามารถหล่อให้เอียงหรือมีรูปทรงต่าง ๆ ได้ตามการออกแบบ
  • หลังคา Parapet เป็นหลังคาที่มีผนังล้อมรอบเพื่อปิดบังหลังคามุงที่ซ่อนไว้ (หลังคาซ่อน) หรือเป็นพื้นดาดฟ้าที่มีผนังกันตกโดยรอบขอบอาคาร

จุดเด่น

  • สามารถออกแบบหลังคาให้เป็นสวนดาดฟ้า สำหรับนั่งเล่น พักผ่อน ทั้งยังช่วยลดความร้อนจากแสงแดดโดยไม่ให้ส่องตกกระทบพื้นคอนกรีตโดยตรง
  • เหมาะกับแบบบ้านสไตล์โมเดิร์นที่เรียบง่าย

จุดด้อย

  • คอนกรีตจะดูดซับความร้อนไว้ในเนื้อวัสดุและแผ่ความร้อนเข้าสู่ภายในบ้าน
  • หากมีรอยร้าวบนพื้น น้ำฝนจะค่อยๆ ซึมสะสมในเนื้อคอนกรีตจนเกิดการรั่วซึมในอนาคตได้

6. หลังคาเพิงแหงน (Shed Roof/Lean-to Roof)

หลังคาบ้าน ทรงเพิงแหงน

หลังคาเพิงแหงน (Shed Roof/Lean-to Roof) เป็นหลังคาที่เรียบลาดเอียงเพียงด้านเดียว ด้านใดด้านหนึ่ง แลดูเรียบง่ายทันสมัย นิยมทำแบบที่มีชายคาเพื่อช่วยในการบังแดดฝน นิยมใช้หลังคาทรงนี้กับงานก่อสร้างแบบชั่วคราวหรืองานต่อเติมแบบเล็กๆ ง่ายๆ เช่น โรงจอดรถ หรือครัวส่วนต่อเติม

จุดเด่น

  • มีรอยต่อน้อย ไม่มีผืนหลังคาซับซ้อน
  • ก่อสร้างง่ายรวดเร็ว
  • ประหยัดโครงสร้างหลังคา
  • ประหยัดเวลาและค่าแรง

จุดด้อย

  • กันแดดกันฝน ได้เพียงด้านเดียว

7. หลังคาทรงปีกผีเสื้อ (Butterfly Roof)

หลังคาบ้าน ทรงปีกผีเสื้อ

หลังคาปีกผีเสื้อ แต่ต้องระวังเรื่องการรั่วซึม
หลังคาทรงปีกผีเสื้อ (Butterfly Roof) เป็นหลังคาที่เกิดจากหลังคาทรงเพิงแหงนสองด้านลาดเอียงลงมาประกบกัน ทำให้ดูเหมือนปีกผีเสื้อที่กางออก ดูโดดเด่นมีเอกลักษณ์

จุดเด่น

  • ดูโดดเด่นมีเอกลักษณ์
  • เหมาะกับบ้านไตล์โมเดิร์น หรือเนเชอรัล

จุดด้อย

  • น้ำฝนอาจจะรั่วซึม แล้วไหลเข้าสู่ตัวบ้านได้ง่ายกว่าหลังคารูปทรงอื่น เนื่องจากเป็นหลังคาที่ทั้งสองด้านลาดเอียงมาเจอกันตรงกลาง
  • จะต้องมีระบบระบายน้ำที่ดี

8. หลังคาทรงโค้ง (Curved Roof)

หลังคาบ้าน ทรงโค้ง

หลังคาทรงโค้ง (Curved Roof) เป็นหลังคาที่โดดเด่นด้วยความโค้งมน แลดูดีไซน์ล้ำ ดึงดูดความสนใจ ซึ่งหลังคาทรงนี้จะนิยมออกแบบในลักษณะที่มีชายคา ทั้งแบบยื่นในระยะสั้นและแบบยื่นยาว เพื่อกันแดดกันฝน

จุดเด่น

  • แลดูดีไซน์ล้ำ ดึงดูดความสนใจ
  • มีน้ำหนักเบารอยต่อน้อย
  • สร้างผิวโค้งได้หลากหลายรูปแบบ
  • ปัญหารั่วซึมพบได้น้อย

จุดด้อย

  • ต้องอาศัยความชำนาญจากผู้เชียวชาญ ในการออกแบบคำนวณโครงสร้างรองรับ เพื่อให้เป็นหลังคาที่ปกคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ได้อย่างปลอดภัย

9. หลังคาแบบมีหน้าต่าง (Dormer Roof)

หลังคาบ้าน แบบมีหน้าต่าง

หลังคาแบบมีหน้าต่าง (Dormer Roof) เป็นหลังคาที่มีโครงสร้างหลังคาที่มีหน้าต่าง ซึ่งยื่นออกมาในแนวตั้งเหนือระนาบของหลังคาแหลม มักจะใช้เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยในห้องใต้หลังคาและเพื่อสร้างช่องหน้าต่างในระนาบหลังคา

จุดเด่น

  • มีพื้นที่ใช้สอยในห้องใต้หลังคา อาจจะทำเป็นห้องนอนใต้หลังคา หรือห้องเก็บของ

จุดด้อย

  • ต้องมีผู้เชี่ยวชาญ หรือช่างที่ชำนาญการในการออกแบบและก่อสร้าง เนื่องจากหลังคามีความซับซ้อน

10. หลังคารูปตัวเอ็ม (M Shaped Roof)

หลังคาบ้าน ทรงรูปตัวเอ็ม

หลังคารูปตัวเอ็ม (M Shaped Roof) เป็นหลังคาที่เหมือนเอาหลังคารูปทรงหน้าจั่วสองหน้าติดกันเป็นรูปตัวเอ็ม มักพบเห็นได้ทั่วไปในทาวน์โฮมหรืออสังหาริมทรัพย์ประเภทหลายครอบครัว ซึ่งสามารถเชื่อมต่อบ้านหลายหลังเข้าด้วยกัน

จุดเด่น

  • สามารถเชื่อมต่อบ้านหลายหลังเข้าด้วยกัน ทำให้ประหยัดสำหรับการออกแบบหลังคาในทาวน์โฮม

จุดด้อย

  • น้ำฝนอาจจะรั่วซึม แล้วไหลเข้าสู่ตัวบ้านได้ง่ายกว่าหลังคารูปทรงอื่น เนื่องจากเป็นหลังคาที่ทั้งสองด้านลาดเอียงมาเจอกันตรงกลาง
  • จะต้องมีระบบระบายน้ำที่ดี
  • อาจจะมีเศษใบไม้ร่วงหลุ่นไปค้างอยู่ได้ ต่างประเทศอาจจะมีหิมะตกค้าง

สรุป

หลังคาบ้าน มีหลากหลายรูปแบบ หลากหลายวัสดุที่ถูกนำมาทำเป็นหลังคา หลังคาแต่ละแบบก็จะมีุดเด่น จุดด้อยที่แต่ต่างกันออกไป ซึ่งหลังคาบางแบบออกแบบมาเพื่อกันแดดกันฝนกันลม ระบายความร้อนโดยฉพาะ บางแบบเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอย บางแบบเพื่อความสวยงาม ดึงดูดความสนใจและสะดุดสายตา ก่อนจะเลือกใช้แบบไหนในการสร้างบ้านใหม่ หรือรีโนเวทบ้าน จะต้องเลือกพิจารณาให้ดี และปรึกษาผู้เชียวชาญในการออกแบบและก่อสร้าง