“รั้วลวดหนาม” คืออะไร มีกี่รูปแบบ พร้อมวิธีติดตั้งใช้งาน


ผู้คนส่วนใหญ่ที่อยู่ในเจเนอเรชั่นเก่าๆ น่าจะคุ้นเคยกับสิ่งที่เรียกว่า รั้วลวดหนาม กันเป็นอย่างดีแน่นอน เพราะลวดหนามนั้น ถือว่าเป็นวัสดุหรือผลิตภัณฑ์รั้วที่ผูกพันกับสังคมไทยเรามาเนิ่นนาน ตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ย่าตาทวดกันมาเลยทีเดียว ในบทความนี้แอดมินจะมาบอกเล่าถึงความเป็นมา รั้วลวดหนามคืออะไร มีกี่รูปแบบ ขนาดไหนบ้าง พื้นที่ไหนเหมาะนำไปใช้งาน รวมไปถึงขั้นตอนการเตรียมและติดตั้งรั้วชนิดนี้ ไปตามอ่านกันต่อไปเลย

รั้วลวดหนามคืออะไร

รั้วลวดหนาม คืออะไร

จุดเริ่มต้นของลวดหนาม ต้องย้อนไปตั้งแต่ช่วงปี คริสตศักราช 1800 ได้เลยทีเดียว ซึ่ง รั้วลวดหนามคือ รั้วที่ทำด้วยเส้นลวดเหล็กและใช้ลวดเหล็กที่มีลักษณะเป็นหนามพันเกลียว เป็นรั้วที่เกษตรกร ในสมัยก่อนนั้นใช้งานอย่างแพร่หลาย ทั้งในเรื่องของการป้องกันการรุกล้ำโดยสัตว์ใหญ่ และการบุกรุกจากผู้คนที่จะเข้ามาทำลายพืชผลในฟาร์มเกษตรในยุคนั้น รวมไปถึงเรื่องของราคาที่เมื่อแลกกับประโยชน์ใช้สอยแล้ว รั้วลวดหนาม ถือว่าทำได้ดีและตอบโจทย์ความต้องการเกษตรกรได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว ซึ่งถ้านับตั้งแต่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ใช้กันมาตั้งแต่ปี 1800 จนกระทั่งตอนนี้นั้น รั้วลวดหนาม น่าจะเป็นส่วนสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อเหล่าเกษตรกร หรือแม้กระทั่งนายหน้าค้าขายอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันนี้เลยทีเดียว

รูปแบบลวดหนาม

ในปัจจุบันลวดหนามสามารถแบ่งออกได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

ลวดหนามที่พันเกลี่ยวแบบธรรมดา

เป็นลวดหนามที่พันเกลียวแบบดั้งเดิม ซึ่งตัวลวดถูกพันเหลี่ยวแบบหลวมๆ มีโอกาส หรือหย่อนได้ เมื่อใช้ไปนานๆ

ลวดหนามที่พันเกลี่ยวแบบไขว้สลับ

เป็นลวดหนามที่ปรับปรุงจากแบบดั้งเดิม ให้มีการพันเกลี่ยวลวดแบบไขว้สลับ ทำให้แน่นขึ้น แข็งแรง โอกาศหลุดหรือหย่อนน้อยกว่าแบบแรก

ขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน

ในการเลือกลวดหนามไปใช้สำหรับการล้อมรั้วนั้น บางคนอาจจะจะเลือกกันที่ราคาที่ถูกที่สุดได้เลยในทันที เพราะว่า ในส่วนของลวดหนามนั้น ก็จะมีราคาที่แตกต่างกันไป ตามขนาดของความหนา โดยในมาตรฐานของการผลิตลวดหนามนั้น จะมีการแบ่งแยกกันเป็นเบอร์ ซึ่งจะมีดีเทลในแต่ละเบอร์ ด้วยรายละเอียดของความหนาของลวดหนามเอง ซึ่งจะกำกับไว้ด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางนั่นเอง โดยส่วนใหญ่ในบ้านเรา จะมีลวดหนามให้เลือกกันตั้งแต่เบอร์ 10 ไปจนถึง เบอร์ 15 เท่ากับว่ามีทั้งหมด 6 ขนาดที่ใช้งานกันตามมาตรฐานสากล โดยราคาก็ต้องมีความแตกต่างกันไป โดยถ้ายิ่งหนา ก็จะยิ่งมีราคาที่สูงกว่า โดยจะเรียงจากความหนา ที่ไปจากมากไปหาน้อย เบอร์ 10 คือลวดหนามที่มีความหนาสูงสุดที่ 3.20 มม. นั่นเอง และบางที่สุดนั้นก็คือ เบอร์ 15 ที่มีความหนา 1.80 มม. ปัจจุบันนี้ผู้ใช้งานมักจะเลือกใช้ความหนาที่เบอร์ 13 ไปจนถึง เบอร์ 15 เพราะมีราคาที่ลงตัวพอเหมาะกับการใช้งานนั่นเอง

พื้นที่ไหนเหมาะที่จะใช้งานกันบ้าง ?

พื้นที่ใช้รั้วลวดหนาม

ในเมื่อทุกท่านได้ทราบถึงรายละเอียดเบื้องต้นกันไปแล้ว สำหรับคุณสมบัติของลวดหนาม ทั้งความหนาและเบอร์ที่นิยมใช้กันนั้น ต้องบอกเลยว่า ถ้าหากประโยชน์การใช้งาน ดังที่กล่าวมาข้างต้นกันแล้ว แน่นอนว่าจะมีข้อดีที่ใช้งานได้กับบางกิจการหรือบางประเภทเท่านั้น ซึ่งถ้าหากว่าเป็นการนำไปใช้งานกับการล้อมที่ดินเปล่า ที่รอการก่อสร้าง เพื่อป้องกันการบุกรุกไว้เบื้องต้น หรือแม้กระทั่งนำไปล้อมไว้สำหรับทำการเกษตร ปศุสัตว์ ล้อมไร่นา พืชผักสวนครัวไว้ ก็ถือว่าลวดหนามนั้น จะเป็นข้อดีสำหรับกิจการประเภทดังกล่าวเป็นอย่างมากเลยทีเดียว เพราะด้วยราคาที่ประหยัดกว่ารั้วคอนกรีตสำเร็จรูป หาซื้อง่าย การติดตั้งใช้งานง่ายและสะดวก ไม่ต้องใช้เสาปูนในการติดตั้งให้สิ้นเปลืองงบประมาณ ก็น่าจะทำให้ลวดหนามนั้นสามารถใช้งานได้อย่างลงตัวเลยทีเดียว แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การจะเลือกใช้ลวดหนามก็ควรจะต้องมีการปรึกษาผู้รับเหมา หรือผู้ขายให้ทรายรายละเอียดให้ครบถ้วนเสียก่อน เพราะอาจจะต้องมีการเลือกลักษณะของเหล็กที่ใช้ผลิตลวดหนาม และอื่นๆ อีกบ้าง เพื่อให้สามารถเลือกลวดหนาม ให้มีอายุการใช้งานที่คุ้มค่าที่สุดนั่นเอง

วิธีนำรั้วลวดหนามไปติดตั้งใช้งาน

วิธีล้อมรั้วลวดหนาม

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนนำรั้วลวดหนามไปติดตั้งใช้งาน

การเตรียมอุปกรณ์และสิ่งของจำเป็นสำหรับใช้ในการล้อมรั้ว มีดังต่อไปนี้

  • เสาหลัก เป็นเสาไม้หรือเสาปูน ก็ได้ แล้วแต่งบประมาณ
  • ลวดหนาม เลื้อกได้ตามขนาดที่ต้องการ แนะนำเปนแบบพันเกลียวไขว้สลับ
  • ที่ยืดลวดหนาม อาจจะเป็นกิ๊บยืด หรือใช้ตะปูตอกยืดแทนก็ได้
  • เตรียมถุงมือ เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น เพื่อป้องกันลวดหนามเกี่ยว
ตัวอย่าง ชุดป้องกันในการล้อมรั้ว

วิธีการติดตั้งรั้วลวดหนาม

สำหรับวิธีการล้อมรั้วลวดหนาม สามารถทำได้ ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

ล้อมรั้วลวดหนามเสาปูน
  • ขุดหลุม ตั้งเสา ฝังกลบดินให้แน่น หากดินนุ่ม ไม่แน่น สามารถเทปูนตีนเสาได้ และเพิ่มความแข็งแรงด้วยการใช้ค้ำยันเสาต้นแรกหรือต้นสุดท้าย หรือเสาต้นที่เป็นจุดเลี้ยว หรือมุมรั้ว โดยระยะระหว่างเสา โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 2-2.5 เมตรต่อต้น
  • ขึงดึงลวดหนาม ที่ละต้นให้ตึง โดยใช้ไม้ที่แข็งแรง หรือชะแลง ช่วยในการดึง
  • ตอกกิ๊บหรือตอกตะปู เพื่อยึดลวดหนามให้ติดกับเสาหลัก

สรุปตอนท้าย

รั้วลวดหนาม เป็นรั้วหาซื้อได้ง่าย เหมาะกับพื้นที่สำหรับเกษตรกรรม ปศุสัตว์ ป้องกันการบุกรุก เนื่องจากงบประมาณในการเลือกซื้อที่ประหยัดที่สุดแล้ว สำหรับการเปรียบเทียบราคาของรั้วประเภทอื่น ที่พื้นที่ของเพื่อนๆเคยใช้รั้วแบบนี้บ้างไหม แนะนำกันได้ที่เม้นท์ด้านล่างนี้เลย