ในโลกแห่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีหลากหลายนวัตกรรมของงานก่อสร้างที่ถูกออกแบบและสร้างขึ้นมา เพื่ออำนวยความสะดวกในการก่อสร้าง ช่วยประหยัดต้นทุน และเวลา รวมไปถึงค่าแรงที่ใช้ในการก่อสร้าง หนึ่งในนั้นก็คือ ฟุตติ้งสำเร็จรูป ซึ่งเป็นที่มาของบทความในวันนี้ที่แอดมินจะเล่าให้ฟัง
ฟุตติ้งสำเร็จรูป คืออะไร
ฟุตติ้งสำเร็จรูป คือ ฐานรากที่ผลิตจากคอนกรีตสำเร็จรูปเสริมเหล็ก โดยใช้เหล็ก RB 9 mm 3 ชั้น เป็นเหล็กรอบ และใช้เหล็กข้ออ้อย DB 12 mm 1 ชั้นเป็นเหล็กกลาง ใช้สำหรับทำตอม่อ หรือฐานรากของเสารั้ว
ฐานราก หรือ ฟุตติ้ง เป็นโครงสร้างที่อยู่ถูกฝังอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักจากเสารั้ว แล้วถ่ายนำหนักลงสู่ดินต่อไป แอดมินได้กล่าวถึงไปบ้างแล้วในบทความ รั้วสำเร็จรูป (Concrete fence) คืออะไร ? มีวิธีติดตั้งใช้งานอย่างไร ? ) ซึ่งฟุตติ้ง โดยทั่วไปจะมีหลากหลายขนาด แต่ที่นิยมใช้กันจะมี ขนาด 40x40x40 เซ็นติเมตร และขนาด 35x80x40 เซ็นติเมตร สำหรับขนาด 35x80x40 เซ็นติเมตร จะเหมาะกับงานรั้วโครงการ รั้วโรงงาน ที่เป็นเสาเข็มคู่
ฐานรากมีกี่แบบ
โดยทั่วไปงานฐานราก หรือฟุตติ้ง จะแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ได้แก่
- ฐานรากเสาเข็มรองรับ หรือ ฐานรากลึก เป็นฐานรากฐานรากที่ถ่ายเทน้ำหนักของโครงสร้างลงสู่ดินด้วยเสาเข็ม เนื่องจากชั้นดินที่รับน้ำหนักปลอดภัยอยู่ในระดับลึก เหมาะกับการก่อสร้างบนพื้นที่ที่มีดินอ่อน ดินไม่แข็ง ระยะชั้นดินมีความแข็งไม่เท่ากัน จึงต้องมีการออกแบบฐานรากให้มีขนาดเสาเข็มและความลึกให้มีลักษณะแตกต่างกัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับน้ำหนัก และความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่
- ฐานรากแผ่ หรือ ฐานรากบนดิน อาจจะเรียกว่า ฐานรากตื้น ก็ได้ เป็นฐานรากที่ไม่มีเสาเข็มรองรับ ซึ่งฐานรากลักษณะนี้วางอยู่บนชั้นดินโดยตรง สำหรับการถ่ายน้ำหนักสู่ดินด้านล่าง เพื่อให้ดินสามารถรองรับน้ำหนักของโครงสร้างได้ดียิ่งขึ้น โดยไม่ต้องใช้เสาเข็มช่วย ใช้ในพื้นที่ไซด์งานหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีชั้นดินแข็ง ยากต่อการขุดเจาะ และสภาพดินต้องแน่นไม่ทรุดตัวง่าย เช่น พื้นที่ดินลูกรัง หรือ พื้นที่ภูเขาทะเลทราย
โดยฐานแผ่ สามารถแบ่งออกได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
- ฐานรากแผ่เดี่ยว เป็นฐานรากที่รองรับน้ำหนักของเสาหรือตอม่อเพียงต้นเดียว แล้วถ่ายเทน้ำหนักลงสู่ดิน โดยต่ำแหน่งของฐานรากรูปแบบนี้จะอยู่ตรงกลาง
- ฐานรากแผ่ร่วม เป็นฐานรากที่ใช้กรณีที่มีต่อมอมากกว่า 2 ต้นขึ้นไปรวมอยู่ในฐานรากอันเดียวกัน เหมาะกับโครงการหรือไซด์งานที่มีช่วงเสาห่างกัน ระยะประมาณ 1.5 – 2 เมตร
- ฐานรากแผ่ปูพรม เป็นฐานรากที่แผ่เป็นพื้นเดียวกันทั้งหมด โดยเสาทุกต้นจะวางอยู่บนฐานรากรูปแบบนี้ สามารถรับแรงน้อย ฉะนั้นเสาที่ใช้จะค่อนข้างถี่ เพื่อความแข็งแรงในการรองรับน้ำหนักให้ได้ดียิ่งขึ้น
ขั้นตอนการนำไปใช้งาน
สำหรับขั้นตอนการทำฐานราก มีดังนี้
- สำรวจตำแหน่งวางเสา เพื่อทำฐานราก โดยวางฝังเส้นกรอบโครงการก่อน เพื่อกำหนดแนวเสา ตรวจสอบระยะโครงสร้างหรือตัวอาคาร และระยะห่างของเสาแต่ละแนว
- เลือกฐานราก ตามลักษณะที่ต้องการ ซึ่งหากเลือกฐานรากแผ่แบบไม่มีเสาเข็ม จะต้องมีการทดสอบดินด้วยว่ามีความแข็งมากน้อยเพียงใด หากชั้นดินมีความแข็งไม่พอ ดินมีความอ่อน ก็ต้องเจาะเสาเข็มต่อไป
- ตอกเสาเข็ม แบบปั่นจั่นตอกเข็มลงในดิน โดยการตั้งโครงเหล็กเป็นแท่ง ซึ่งจะไม่มีผลต่อโครงสร้างตัวอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างใกล้เคียง โดยการเจาะตอกเสาเข็มนั้น จะเจาะด้วยรถขนาดใหญ่ อาจจะเจาะแบบเปียกและแบบแห้ง ก็ได้ ซึ่งราคาในการเจาะตอกเสาเข็มจะค่อนข้างสูง แต่ก็เป็นที่นิยมใช้งานกันโดยทั่วไป
จุดเด่นของฟุตติ้งสำเร็จรูป
- ประหยัดเวลาและค่าแรง เนื่องจากไม่ต้องเทหล่อฟุตติ้งหน้างาน
- ลดการสูญเสียเหล็ก จากการเทหล่อหน้างาน
- ทำงานได้ง่าย สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น
- สามารถสั่งทำได้ตามขนาดที่ต้องการ ตามที่ทางทีมวิศวกร หรือช่างแนะนำ
สรุปตอนท้าย
ฐานราก หรือที่ช่างเรียกโดยทั่วไปว่า ฟุตติ้ง เป็นโครงสร้างส่วนที่อยู่ใต้ดิน ช่วยรองรับนำหนักจากเสา แล้วถ่ายลงสู่ดินจากเดิมที่ต้องเทหล่อหน้างาน ปรับเปลี่ยนมาเป็น ฟุตติ้งสำเร็จรูป ที่หล่อขึ้นจากคอนกรีตเสริมเหล็ก มีหลายขนาด หลายรูปแบบ ตามพื้นที่โครงการที่ต้องการ เนื่องจากเป็นฟุตติ้งสำเร็จรูปมาแล้ว ทำให้ช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าแรง ทำงานได้สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น นั่นเอง